เตรียมให้พร้อม เอกสารต่อภาษีรถยนต์

Last updated: 5 ก.ย. 2564  |  1183 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การต่อภาษีรถยนต์

          พูดถึงการต่อภาษีรถยนต์ หลายคนคงรีบวิ่งไปดูป้ายภาษีรถยนต์ว่าใกล้ถึงกำหนดต้องต่อภาษีรถยนต์กันแล้วหรือยัง  ถ้าครบกำหนดแล้ว ก็คงจะเกิดความสงสัยว่า จะต้องใช้เอกสารอะไร และค่าธรรมเนียมในการ " ต่อภาษีรถยนต์ " เท่าไหร่ มีขั้นตอนยังไง เพราะปีหนึ่งต่อครั้งหนึ่งก็ต้องมีอาการลืมกันบ้าง เพื่อจะได้เตรียมเงิน เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนวันหมดภาษี จะได้ไม่ถูกจับ ปรับ

          การต่อภาษีรถยนต์  หรือพูดแบบบ้านๆว่า การต่อทะเบียนรถยนต์  เป็นสิ่งที่กฎหมายระบุไว้ว่าต้องทำทุกปี ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์ถือว่ามีความผิด แต่หลายคนก็คงเคยเจอปัญหา เช่น ลืมต่อบ้าง  ลืมวันครบกำหนดบ้าง ทำให้ไปต่อล่าช้าจนต้องถูกปรับ ซึ่งจริง ๆแล้วการต่อภาษีรถยนต์สามารถต่อล่วงหน้าก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน สำหรับคนกลัวลืมก็ต่อล่วงหน้าได้

ไม่ได้ ต่อภาษีรถยนต์ แล้วนำมาใช้ผิดกฎหมายไหม

          ข้อสำคัญของการต่อภาษีรถยนต์ คือ การต่อภาษีรถยนต์ จะต้องต่อทุกปี ห้ามขาดเด็ดขาด ส่วนในกรณีขาดการต่อภาษีติดต่อกัน 3 ปี ก็จะถูกระงับการใช้ทะเบียน ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในการทำเรื่องขอทะเบียนใหม่  เพราะฉะนั้น ยอมเสียสละเวลาไปต่อภาษี แค่ปีละครั้งดีกว่านะคะ

          ก็อย่างที่บอกข้างต้นค่ะว่า เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน  ซึ่งมีข้อดีตรงที่หากเรางานยุ่งมาก เรายังสามารถจัดสรรเวลาสักวันใน 3 เดือนเพื่อไปต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ สำหรับคนที่กลัวลืมก็มีวีธีง่ายๆมาฝาก แค่เราทำบันทึกแจ้งเตือนไว้ในโทรศัพท์ เพื่อแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลา หรือเอาแบบบ้านๆเลยค่ะ เขียนไว้ในปฏิทิน วงกลมตัวหนาๆไว้เลย เพราะส่วนมากเราจะต้องดูปฏิทินกันบ่อย ๆอยู่แล้ว คราวนี้ไม่ลืมแน่นอนค่ะ

          เมื่อถึงเวลาที่จะต้องไปต่อภาษีรถยนต์ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมเลยคือ เอกสาร หลายคนกังวลว่าจะเอาไปไม่ครบ หรือไม่รู้แม้แต่ว่าจะต้องเอาอะไรไปบ้าง เรามีรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การเตรียมเอกสาร และขั้นตอนในการต่อภาษีรถยนต์ อัตราการต่อภาษีรถยนต์ มาฝาก

เอกสารที่จะต้องเตรียมในการต่อภาษีรถยนต์

1. หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ (ถ้ามี) หรือใบแทน

2. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.รบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

3. หลักฐานการผ่านการตรวจสภาพรถ

อัตราค่าต่อภาษีรถยนต์

จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)  มีอัตราภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ดังนี้

600 ซีซี แรก ซีซี ละ 0.50 บาท

601 -1,800 ซีซีๆละ 1.50 บาท

เกิน 1,800 ซีซี ๆละ 4.00 บาท

          พูดง่ายๆว่า ยิ่งซีซีเยอะอัตราภาษีก็สูงตามไปด้วย แต่ถ้าเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บอัตราสองเท่า

กรณีที่รถที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อไป ดังนี้

ปีที่ 6  ร้อยละ 10

ปีที่ 7 ร้อยละ 20

ปีที่ 8 ร้อยละ 30

ปีที่ 9 ร้อยละ 40

ปีที่ 10 ขึ้นไป ร้อยละ 50

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์

1. นำรถยนต์ไปตรวจสภาพ ณ งานตรวจสภาพสำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสาขา เพื่อรับใบรับรองการตรวจสภาพรถประกอบการต่อภาษีรถยนต์

2. ชำเงินค่าภาษี

3. บันทึกรายการค่าภาษีรถยนต์

4. รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ

          ส่วนกรณีการต่ออายุและชำระภาษี หากไม่สะดวกที่จะนำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ไปในวันนั้น ก็สามารถนำสำเนาหนังสือแสดงการจัดทะเบียนรถยนต์แทนก็ได้เช่นกันค่ะ

เป็นอันว่าเสร็จขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์  ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินการ ไม่รวมการรอคิว ก็ไม่เกิน 10 นาที

ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนดี

          และตอนนี้ กรมการขนส่งทางบกได้ขยายช่องทางการรับชำระภาษีรถยนต์ เพื่อแก้ปัญหาประชาชนไม่ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยจัดให้สามารถชำระภาษีได้ทั่วประเทศ ผ่านช่องทาง   ผ่านทางออนไลน์ ที่ www.dlte-serv.in.th (เฉพาะรถที่ไม่ต้องตรวจสอบสภาพ) ไปรษณีย์ , ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง , จุดบริการตามห้างสรรพสินค้า ,ผ่าน ตรอ. , ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส , เซเว่นอีเลฟเว่น ทั่วประเทศ

          ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก  และปีหนึ่งทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ขอเน้นย้ำว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและห้ามลืมเด็ดขาดเพราะกฎหมายกำหนดมาว่าต้องต่อทุกปี หากไม่ดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ ปัญหาในการใช้รถยนต์ต่างๆก็จะตามมาแน่นอน เช่น ถูกปรับ ทางที่ดีควรสละเวลาสักนิด เพื่อชีวิตปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย

 

 

สอนขายประกันภัยรถยนต์ ไม่ต้องลาออกจากงานประจำ

เริ่มต้นง่ายๆ มีรายได้ทันที

สนใจทำธุรกิจประกันภัยรถยนต์ โทรหาเรา สอนฟรีทุกขั้นตอน

K.สันติราษฎร์   รอดส้ม

080-0445087

สมัคร ที่นี่: https://www.firstsrikrung.com



https://www.firstsrikrung.com/form/7/untitled-form

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้