รู้ให้เคลีย์ พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี ไม่ใช่อันเดียวกัน

Last updated: 28 ส.ค. 2564  |  789 จำนวนผู้เข้าชม  | 

       

 

                กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันชำระค่าภาษีรถยนต์และทำพ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งทั้ง 2 อย่างมีการแยกประเภทแบบชัดเจนอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีบางคนยังสับสนว่าระหว่างป้ายภาษี และ พ.ร.บ. นั้นต่างกันอย่างไร และมีไว้ทำอะไร วันนี้เราจะพาไปไขข้อข้องใจ ป้ายภาษี กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน! ใครยังสงสัยอยู่ ต้องดู!


ป้ายภาษีคืออะไร?
                ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องต่อทุกปีตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพราะถ้าหากไม่ต่อภาษีรถยนต์นานติดต่อกันเกิน 3 ปี จะทำให้ถูกระงับทะเบียนรถได้เลยทันที ผู้ขับขี่อาจจะต้องเสียเวลานำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่อีกครั้ง แล้วจึงจะได้ป้ายภาษีเก่ากลับมา ที่สำคัญเมื่อนำรถไปจดทะเบียนภาษีใหม่อาจถูกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย ถ้าหากผู้ขับขี่คนไหนไม่อยากเสียภาษีย้อนหลัง การต่อภาษีรถยนต์ตรงต่อเวลาจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันการต่อภาษีรถยนต์นั้นสามารถทำได้ก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน และจะต้องทำพ.ร.บ. รถยนต์ ให้เสร็จก่อนต่อภาษี เพื่อให้ได้ป้ายภาษีสี่เหลี่ยมมาติดกระจกหน้ารถ เพราะถ้าหากโดนตรวจแล้วพบว่าไม่มีป้ายนี้ผู้ขับขี่จะได้รับโทษปรับ 400-1,000 บาท นั่นเอง


พ.ร.บ. คืออะไร?
                 พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำไว้ เพราะถ้าหากตรวจสอบแล้วว่ารถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายว่าไว้จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเอกสารที่สำคัญมากจะต้องเป็นเก็บไว้ให้ดี เนื่องจากเป็นเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกด้วย หากรถคันไหนที่ได้ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ตัว พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต ตามวงเงินที่คุ้มครองในกรมธรรม์ของรถยนต์ประเภทนั้นๆ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้พูดถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายว่า การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้


1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
2. เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว”
ดังนั้นรถทุกคันจะต้องมี ป้ายภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อการประกันภัยต่อตัวรถและบุคคล และที่สำคัญทั้ง 2 อย่างนี้ จำเป็นต้องทำทุกปีตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ เพราะถ้าหากรถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ความคุ้มครองและการชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่สามารถทำได้ และจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ด้วยเช่นกัน



 

รับสมัครทีมงานขายประกันภัยรถยนต์ รายได้เป็นแสน กับศรีกรุงโบรคเกอร์

สมัครง่าย เริ่มได้ทันที!!

+++++++++++++++++++++

ทำง่าย!! เพราะสินค้าถูกบังคับให้ต้องซื้อ

ทำตอนสะดวก ไม่บังคับยอด

ถูกต้องตามกฎหมาย

มีรางวัลนายหน้าดีเด่น 2 ปีซ้อน

ประสบการณ์มากกว่า 30 ปี

มีมากกว่า 43 สาขา ทั่วประเทศ

ตลาดกว้าง ธุรกิจกำลังโต

ได้ซื้อ พรบ. ประกันรถในราคาตัวแทน

มีบริษัทประกันให้เลือกขายมากกว่า 35 บริษัท

ระบบแผนธุรกิจไม่เหมือนใคร

ไม่มีความเสี่ยง ไม่ต้องลงทุน

มีกำไรแน่นอนจาก รายได้ 3 ช่องทาง

---------------------------------------------

โทร :080-0445087

คุณ สันติราษฎร์ รอดส้ม (เฟิร์ท)

Line: http://line.me/ti/p/~0800445087

เว็บไซด์ : https://www.firstsrikrung.com/

              : https://firstvip.724friends.com/

กรอกใบสมัคร

https://www.firstsrikrung.com/form/7/untitled-form

_______________________________

#สมัครขายประกัน #ประกันภัยออนไลน์

#ศรีกรุงโบรคเกอร์ #สมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์

#ส่วนลดประกันภัยรถยนต์ #สมัครสมาชิกศรีกรุงรับส่วนลดทันที #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ถูกชัว

#สมัครตัวแทนขายประกัน #สมัครนายหน้าขายประกัน

#เช็คเบี้ยประกันภัย #ส่วนลดเบี้ยประกัน #สมัครสมาชิกศรีกรุง #สมัครศรีกรุง #เช็คเบี้ยประกัน #firstsrikrung.com https://firstvip.724friends.com/

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้